บริษัท เจไอเอ็น อินสเปคชั่น จำกัด
โทร : 064-416-9447
097-426-9874
Awesome Image

ความปลอดภัยระบบไฟฟ้าโรงงาน

การตรวจระบบไฟฟ้าในโรงงาน

    การตรวจระบบไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความปลอดภัยในโรงงานซึ่งการตรวจระบบไฟฟ้านั้นเป็นหน้าที่ของวิศวกรไฟฟ้า ช่างเทคนิคไฟฟ้า หรือ เจ้าหน้าที่ของฝ่ายวิศวกรรม ซึ่งจะเป็นไปตามกฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรม ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟฟ้าในโรงงาน พ .ศ. 2550 และตามกฎหมายของกระทรวงแรงงาน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558โดยทั่วไปแล้วงานตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบการผลิต เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนาน และมีความเชื่อถือได้ งานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ดีคือการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน สิ่งสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคือการตรวจสอบสภาพเพื่อให้ทราบว่าระบบหรืออุปกรณ์มีร่องรอยการเสื่อมสภาพหรือไม่ มีสภาพที่ต้องการการบำรุงรักษาหรือไม่ ในการตรวจสอบสามารถทำได้ 2 แบบ คือการตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) และการตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งต้องการความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์ด้วย


ในการตรวจสอบทั้งด้วยสายตาและด้วยการใช้เครื่องมือวัด สามารถแบ่งการตรวจสอบออกเป็น 2 ส่วนคือ การตรวจสอบทั่วไป และการตรวจสอบตัวอุปกรณ์แต่ละรายการ


1. การตรวจสอบทั่วไป

     การตรวจสอบในขั้นตอนนี้ เป็นการตรวจสภาพทั่วไปของระบบไฟฟ้าทั่วไป เป็นการตรวจอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกันเป็นอย่างดี การสัมผัสส่วนใด ๆ ต้องมั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้า หรือมีการป้องกันอย่างเหมาะสมแล้ว การตรวจทั่วไปมีดังนี้

    1) สายไฟฟ้า

    2) เซอร์กิตเบรกเกอร์

    3) ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย

    4) การระบายอากาศในห้องไฟฟ้า

    5) การระบายอากาศและท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

    5) แบตเตอรี่


2. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

    เป็นการตรวจสอบที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อหาจุดบกพร่อง การเสื่อมสภาพ ความผิดปกติ และอื่น ๆ การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำการบันทึกค่า ผลการตรวจ และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาทางแก้ไข ข้อสำคัญคือ บางรายการต้องตรวจขณะที่จ่ายไฟฟ้า บางรายการต้องดับไฟก่อนจึงจะตรวจได้เนื่องจากมีอันตราย ผู้ที่จะทำการตรวจสอบต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ด้วย

    อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรได้รับการตรวจสอบมีหลายรายการดังนี้

    2.1) หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

        การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้

           2.1.1 ตัวถังหม้อแปลง

           2.1.2 การต่อลงดินของส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่ง

           2.1.3 สารดูดความชื้น

           2.1.4 ป้ายเตือนอันตราย

           2.1.5 พื้นลานหม้อแปลง

ภาพ ลานหม้อแปลงมีการโรยหิน มีรั้วกั้นบริเวณอันตราย มีป้ายเตือน

           2.1.6 เสาหม้อแปลง

           2.1.7 การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง

           2.1.8 ตรวจสภาพหม้อแปลงและการติดตั้งอื่น

    2.2) ตู้เมนสวิตช์

        การตรวจสอบตู้เมนสวิตช์หรือตู้สวิตช์ประธาน ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้

           2.2.1 สภาพของระบบสายดินและการต่อหลักดิน

           2.2.2 บริเวณโดยรอบตู้และตัวตู้ ตู้เมนสวิตช์ต้องมีพื้นที่ว่างให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก การตรวจพื้นที่โดยรอบและสภาพทั่วไป ควรตรวจสิ่งต่อไปนี้

               1) พื้นที่ว่าง

               2) เส้นทางที่จะเข้าไปยังพื้นที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน

               3) ตรวจจสอบว่ามีการวางวัสดุที่ติดไฟได้ติดกับตู้เมนสวิตช์

               4) ฝุ่น หยากไย่ โดยรอบตู้และภายในตู้

ภาพ กองวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ วางกีดขวางหน้าตู้เมนสวิตช์

           2.2.3) ความผิดปกติทางกายภาพ

           2.2.4) การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง

           2.2.5) การตรวจอื่น ๆ อาจมีการตรวจสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมอีก เช่น ตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดที่หน้าแผง หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น

    2.3) แผงย่อย

    การตรวจสภาพแผงย่อย (panel board) เป็นการตรวจสอบทั้งบริเวณการติดตั้งในพื้นที่ทั่วไป และพื้นที่ที่มีสารไวไฟ สำหรับพื้นที่ที่มีสารไวไฟให้ระบุประเภทและแบบของบริเวณนั้นด้วย

           2.3.1) ระบบต่อลงดิน

ภาพ แผงเมนสวิตช์เปิดฝาทิ้งไว้ และไม่มีระบบสายดิน

           2.3.2) บริเวณโดยรอบ

ภาพการเดินสายที่แผงควบคุมไม่เหมาะสม (ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟฟ้า)

           2.3.3) การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง

           2.3.4) การตรวจอื่น ๆ ตรวจสอบเช่นเดียวกับตู้เมนสวิตช์

    2.4) สภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

    การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ อาจตรวจสอบเฉพาะในพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่จัดเก็บวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายเท่านั้น ในการตรวจสอบให้ระบุชนิดของอุปกรณ์ด้วยว่าเป็นอุปกรณ์ชนิดใด เหมาะสมกับที่ใช้ในบริเวณ (พื้นที่) อันตรายหรือไม่

           2.4.1) พื้นที่ติดตั้ง

           2.4.2) สภาพของอุปกรณ์และการต่อสายไฟฟ้า

           2.4.3) บริเวณโดยรอบอุปกรณ์

           2.4.4) การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง

           2.4.5) การตรวจอื่น ๆ เป็นการตรวจสอบสภาพทั่วไปอื่น ๆ ที่สามารถพบได้จากการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น การป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า และการต่อลงดิน เป็น

    2.5) โคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

    การตรวจสอบโคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นการตรวจสอบรายการต่อไปนี้

           2.5.1 การติดตั้งและโครงสร้างของโคมไฟ

           2.5.2 หลอดไฟและขั้วหลอด

           2.5.3 สายป้อน สายวงจรย่อย และสวิตช์ตัดตอนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

           2.5.4 การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อม

           2.5.5 การตรวจอื่น ๆ


3. ความถี่ในการตรวจสอบและบำรุงรักษา

        ความถี่ในการตรวจสอบ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและการใช้งาน โดยปกติจะดำเนินการปีละ 1 ครั้ง การที่จะทำการตรวจสอบถี่ขึ้นหรือไม่นั้น ให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ประกอบด้วย

       • การกัดกร่อนของบรรยากาศ

       • สิ่งสกปรกและฝุ่นละออง

       • อุณหภูมิโดยรอบความชื่น

       • ความถี่ในการทำงาน

       • ความถี่ในการตัดกระแสลัดวงจร (กรณีเซอร์กิตเบรกเกอร์)