บริษัท เจไอเอ็น อินสเปคชั่น จำกัด
โทร : 064-416-9447
097-426-9874
Awesome Image

งานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

งานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

บริการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

       เพื่อสนับสนุนส่งเสริมงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน,สถาบัน,องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานประกอบกิจการ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายในเรื่องการกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอาทิ เช่น ความร้อน แสงสว่าง เสียงดัง สารเคมี รังสีก่อให้เกิดไอออน และที่อับอากาศ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้างเป็นการเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการเฝ้าระวังสุขภาพอนามัยของลูกจ้างตามปัจจัยเสี่ยงนำไปสู่การควบคุมป้องกันและปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการควบคุมป้องกันโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะงานหรือสภาพงานหรือเนื่องจากการทำงาน สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ยังพร้อมที่จะให้บริการตรวจวัดและประเมินสิ่งแวดล้อม ตามข้อกำหนดของระบบมาตรฐานการจัดการ เช่น มอก.18001, OHSAS18001, ISO14001 และตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ


        ทีมงานให้บริการ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านที่มีความรู้และประสบการณ์ ทางด้านอาชีวอนามัยและสุขศาสตร์อุตสาหกรรม นักวิชาการสิ่งแวดล้อมพร้อมด้วยทีมปฏิบัติการด้านเทคนิคการใช้เครื่องมือตรวจวัดและวิเคราะห์ที่ได้มาตรฐานและทันสมัย เพื่อให้บริการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความถูกต้องแม่นยำและเป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งมีคณะที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์อย่างสูงทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมให้คำปรึกษาแนะนำ

การบริการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

        ดำเนินงานตามหลักวิชาการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม โดยการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเบื้องต้นเพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กำหนดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์ ประเมินผลเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามกฎหมายหรือมาตรฐานตามของแนะนำของสถาบันหรือองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ จัดทำรายงานให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะเพื่อการควบคุมป้องกันต่อไป


งานบริการตรวจวัดและประเมิน ได้แก่

การสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเบื้องต้น (Walk Through Survey)

    เพื่อสำรวจสภาพพื้นที่, สภาพการทำงานและกำหนดจุดที่จะดำเนินการตรวจวัดและเก็บตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การตรวจวัดและประเมินฯ


การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในสถานประกอบกิจการ

     1. ความร้อนสภาพความร้อน (Heat Stress Index) โดยวัดค่า WBGT ต่อจุด

     2. ความเข้มของแสงสว่าง

       • แสงสว่าง ณ จุดที่ทำงาน

       • แสงสว่างเฉลี่ยบริเวณและพื้นที่

       • แสงสว่าง Contrast แสงสว่างที่หน้างานและบริเวณโดยรอบ ต่อจุดเสียง

     3. ระดับเสียงแบบพื้นที่ (Leq 5 นาที) ต่อจุด (Sound Pressure Level)

       • ระดับเสียงแบบพื้นที่ (แยกความถี่) ต่อจุด (Sound Pressure Level and Octave Band Analyzer)

       • ระดับเสียงดังเฉลี่ยตลอดการทำงาน 8 ชั่วโมง (Leq 8 hr) ต่อจุด

       • ระดับเสียงดังสะสมที่ตัวบุคคล (Nose Dose) ต่อตัวอย่าง

     4. สารเคมี

       • ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นรวม (Total Dust) เฉลี่ยตลอดการทำงาน

       • ต่อพารามิเตอร์

       • ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นขนาดเล็กหายใจถึงระบบทางเดินหายใจส่วนปลาย

       • (Respirable dust) เฉลี่ยตลอดการทำงานต่อพารามิเตอร์

       • ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นสารพิษ (Toxic dust) โลหะหนัก และฟูมโลหะ

       • เฉลี่ยตลอดการทำงานต่อพารามิเตอร์

       • ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซ / ไอระเหยอินทรีย์ , ไอกรด เฉลี่ยตลอดการทำงานต่อพารามิเตอร์


การตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไป

    • ระดับเสียงรบกวน ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 Hour) และระดับเสียงดังสูงสุด (Lmax)

    • ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 100 ไมครอน ในบรรยากาศ (TSP)

    • ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดตำกว่า 10 ไมครอน ในบรรยากาศ (PM10)

    • ปริมาณความเข้มข้นของมลสารพิษ ก๊าซพิษ อาทิ SO2 , NO2, CO

    • ปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีต่างๆ ซึ่งอาจจะฟุ้งกระจายออกสู่บริเวณข้างเคียง


การตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศในปล่องระบายอากาศ

    • ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละออง ตามมาตรฐาน US EPA Method 5

    • ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตามมาตรฐาน US EPA Method 6

    • ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ US EPA Method 7

    • ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ US EPA Method 10

    • ปริมาณความเข้มข้นของสาร Organic Vapor

    • ปริมาณความเข้มข้นของสารโลหะหนักที่ออกจากปล่องระบาย

    • ความทึบแสง Opacity


การตรวจวัดคุณภาพน้ำ

     1. คุณภาพน้ำบริโภค จำนวน 18 พารามิเตอร์ ประกอบด้วย

       • ด้านกายภาพ-เคมี ; pH, Colour, Turbidity, TDS, Hardness, SO42- , Cl-,

       • NO3-, F-

       • ด้านโลหะหนัก ; Mn, Cu, ZN, Fe, Pb, Cr, Cd

       • ด้านแบคทีเรีย ; Total Coliform Bacteria, Fecal Coliform Bacteria

     2. คุณภาพน้ำเสีย-น้ำทิ้ง จำนวน 10 พารามิเตอร์ ประกอบด้วย

       • ด้านกายภาพ-เคมี ; pH, Total Dissolved Solids, Suspended Solids, Sulfide, BOD, COD, TKN, Oil & Grease,

       • ด้านแบคทีเรีย ; Total Coliform Bacteria, Fecal Coliform Bacteria


การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมด้านชีวภาพ

       • ตรวจวัดและวิเคราะห์หาปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศ

       • ตรวจวัดและวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อรารวมในอากาศ


การตรวจวัดและประเมินระบบระบายอากาศ

    โดยตรวจวัดความเร็วลม , อัตราการไหล เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการระบายอากาศ ระบบกำจัดมลพิษ หรือ Air Supply


การตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality)

       • อุณหภูมิ

       • ความชื้นสัมพัทธ์

       • ความเร็วลม

       • ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์

       • ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์

       • ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศอนุภาคขนาดเล็ก (PM2.5)

       • ปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศ

       • ปริมาณเชื้อรารวมในอากาศ

       • ฯลฯ


ประเมินสภาพการทำงาน (Ergonomics)

     เพื่อตรวจและประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศ ไม่มีบรรยากาศที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน โดยตรวจวัดหาปริมาณออกซิเจน ก๊าซ ไอ ละออง ฝุ่น และสารเคมีที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้


การตรวจวัดและประเมินระบบระบายอากาศ

     เพื่อค้นหาจุดบกพร่องของสภาพการทำงาน, สภาวะการทำงานที่ ทำให้เกิดความเมื่อยล้า, ผลกระทบต่อสุขภาพ, สภาพที่ไม่ปลอดภัย เพื่อหาแนวทางปรับปรุงและแก้ไขการทำงาน